เครื่องบินลำเลียงอีกแบบหนึ่งที่มีอายุการใช้งานที่ยาวนานตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2มาจนถึงปัจจุบันนี้ ถึงแม้จะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาหลากหลายผู้คนก็ยังจำชื่อ C-47 Dakota ได้อย่างดี เครื่องบินรุ่นนี้นั้นถูกผลิตโดยบริษัท Douglasประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีเที่ยวบินทดสอบขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1941 ประวัติความเป็นมาของเครื่องบินลำนี้นั้นเกิดจากการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากความต้องการของสายการบินเอกชนในยุคนั้นที่ต้องการเครื่องบินขนส่งทางพาณิชย์ ทางบริษัท Douglas นั้นจึงได้ทำการผลิตเครื่องบินแบบ Dc-1
*DC-1*
ซึ่งเป็นเครื่องบินเครื่องยนต์ใบพัด 2เครื่องยนต์ และพัฒนาต่อมาเป็นเครื่องแบบ DC-2
*DC-2*
จนในที่สุดได้พัฒนาและถูกปรับปรุงให้เป็นเครื่องแบบ DC-3
*DC-3*
ซึ่งก่อนหน้านั้นทางกองทัพบกและกองทัพเรือสหรัฐได้มีการนำเครื่องบินแบบ DC-2 เข้ามาประจำการใช้งานในกองทัพแล้วจนมาถึงเครื่องแบบ DC-3 จนได้รับการพัฒนาพร้อมทั้งอยู่ในช่วงที่ทางกองทัพสหรัฐได้มีการกำหนดอักษรนำหน้าเครื่องบินประเภทต่างๆ เครื่องลำเลียงแบบ Dc-3เลยได้รับการเปลี่ยนชื่อเรียกมาเป็นเครื่องบิน C-47
*C-47*
จนกลายเป็นเครื่องบินลำเลียงที่ได้รับความนิยมใช้งานแพร่หลายกันทั่วโลกและมีอายุการใช้งานจนถึงปัจจุบัน เครื่อง C-47 นั้นใช้เครื่องยนต์ใบพัดลูกสูบ 2เครื่องยนต์สามารถบรรทุกทหารได้ 28 นาย ทำความเร็วสูงสุดได้ 360 กม./ชม. เพดานบิน 7,350-8,045 เมตร
ในส่วนของกองทัพอากาศไทยนั้นได้มีการนำเครื่องบินแบบ C-47 เข้ามาประการในปี พ.ศ. 2490 โดยใช้ชื่อเรียกว่า บ.ล.2(เครื่องบินลำเลียงแบบที่2) ซึ่งได้มีการส่งเข้าไปร่วมรบในสงครามเกาหลีและสงครามเวียดนาม(ในสงครามเวียดนามมีการดัดแปลงเป็นเครื่อง AC-47) จนสถานการณ์ต่างๆเริ่มสงบลง ทางกองทัพอากาศได้นำเครื่องบินรุ่นนี้มาใช้ในโครงการทำฝนหลวงตามโครงการพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 จนต่อมาในปี2539 ได้มีการนำเครื่องบินจำนวน 3ลำไปพัฒนาปรับบปรุงที่สหรัฐฯ โดยมีการติดตั้งเครื่องยนต์เป็นเครื่องใบพัดแบบเทอร์โบพร็อพแทนเครื่องยนต์แบบลูกสูบ ซึ่งทำให้เครื่องบินมีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถบรรทุกคนได้เพิ่มขึ้น โดยใช้ชื่อเรียกใหม่ว่าเครื่องบินแบบ BT-67 (บ.ล.2ก.)ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในโครงการทำฝนหลวงและสามารถนำไปใช้ในภารกิจดับไฟป่าได้อีกด้วย
*BT-67 ที่ติดตั้งเครื่องยนต์เทอร์โบพร็อพของ แพรทแอนด์วินนีย์*
*BT-67 ใช้ในภารกิจดับไฟป่า*
*BT-67 ใช้ในภารกิจทำฝนหลวง*