กองทัพเรือ บทความ

U-20

เรือ U-20 คือเรือดำน้ำที่มีชื่อเสียงอีกลำหนึ่งของกองทัพเรือเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งจริงๆแล้วเรือดำน้ำลำนี้มีสติถิการจมเรือของศัตรูในช่วงปี ค.ศ.1915-1916 คิดเป็นน้ำหนักรวมแล้ว 142,389 ตัน แต่สร้างประวัติศาตร์โศกนาฎกรรมจนทั่วโลกในตอนนั้นกล่าวขานกันว่า เรือ U-20 นั้นจมเรือโดยสาร Lusitaniaของอังกฤษ (ซึ่งถือเป็นเรือโดยสารที่มีขนาดใหญ่อีกลำหนึ่งของโลกในยุคนั้น)

โดยเรือ U-20  ภายใต้การบังคับบัญชาของกัปตัน ฟอน วอลเทอร์ ชวิกเกอร์

ได้ทำการจมเรือ Lusitania จมลงในวันที่ 7  พฤษภาคม 1915 พร้อมด้วยจำนวนลูกเรือและผู้โดยสาร 1,152 คน และเกือบครึ่งของผู้โดยสารคือเด็กและผู้หญิง   ซึ่งก่อนหน้านั้นในวันที่  30 เม.ย. 1915 เรือ U-20 ได้รับคำสั่งให้ไปลาดตระเวนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะไอร์แลนด์ โดยได้รับคำสั่งว่าให้ยิงเรือฝ่ายตรงข้ามทุกลำที่วิ่งเข้ามาในเขตรับผิดชอบของเยอรมัน .ซึ่งในระหว่างวันที่ 5-6 พ.ค. 1915 เรือ U-20 ได้ทำการจมเรือของอังกฤษไปแล้ว 3 ลำ (ซึ่งตรงนี้เป็นการยืนยันได้ว่า เรือ Lusitania ไม่ได้เป็นเป้าหมายที่สำคัญของเรือ U-20 เพราะเคยมีข่าวลือว่า เรือ U-20 ได้รับมอบหมายให้ไปจมเรือ Lusitsnia  โดยเฉพาะ)

 

ซึ่งในเช้าวันที่  7 พ.ค. 1915หมอกนั้นลงหนาทึบ เรือ U-20 กำลังแล่นเรือกลับไปที่ฐานทัพเรือที่ วิลเฮมฮาเฟ่น  จนช่วงบ่ายหมอกได้เริ่มจางลง  จนกระทั่งเวลา บ่าย 2.20 น. ตามบันทึกในสมุดปูมของเรือที่กัปตัน ชวิกเกอร์ ได้บันทึกลงคือ เวลา2.20 มองเห็นเรือชนิด 4ปล่อง แล่นตัดหน้าเป็นมุม 90 องศากับเรือของเรา มุ่งหน้าไปยังเรือแกล เลย์ ฮาร์ด คาดว่าเป็นเรือโดยสาร

2.25 น. นำเรือเข้าไปใกล้อีก 11 เมตรโดยหวังว่าเรือจะเปลี่ยนเข็มแล่นขนานกับฝั่งไอร์แลนด์

2.35 น. เรือลำนั้นเลี้ยวมุ่งหน้าไปควีนส์ทาวน์  ทำให้เราร่นระยะเข้าไปยิงง่ายขึ้น เราเร่งความเร็วไปที่ตำบลยิงทันที

 

3.10 น. ยิงตอร์ปิโดที่ระยะ 700 เมตร แล้วนำเรือดำลึงลงไปอีก 3เมตร ตอร์ปิโดถูกเป้า มีเสียงระเบิด  และมีเศษระเบิดกระจายขึ้นพร้อมกับกลุ่มควัน น่าจะเป้นการระเบิดจากหม้อมน้ำ ถ่านหิน ไม่ก็ดินระเบิด  เรือได้หยุดลอยลำอยู่กับที่ แล้วเอียงลงทางกราบขวา มีการหย่อนเรือโบตลงน้ำ แต่บรรทุกคนเกินอัตรา เรือจึงขาดตกลงน้ำและจมลงหลายลำ เรือโบตที่อยู่ทางซ้ายไม่สามารถหย่อนลงน้ำได้เพราะเรือเอียงทำให้กราบซ้ายสูงมากทำให้มองเห็นชื่อเรือ Lusistania ซึ่งเขียนด้วยตัวอักษรสีทอง

 

และในสมุดปูมได้มีการบันทึกจากกัปตัน ชวิกเกอร์ อีกว่า ไม่สามารถยิงตอร์ปิโดลูกที่ 2 ต่อไปได้ เพราะบนเรือกำลังมีผู้คนที่แตกตื่นและหาทางช่วยเหลือตนเองให้พ้นจากเรือที่กำลังจม

 

และหลังจากนั้นกัปตัน ชวิกเกอร์ได้ นำสั่งให้นำเรือดำลงไปที่ระดับ 20 เมตร แล้วแล่นออกจากบริเวณนั้น และที่ทางกัปตันไม่เข้าไปช่วยเหลือผู้คนเหล่านั้นเพราะกลัวว่าเรือลาดตระเวนชองอังกฤษจะแล่นย้อนกลับมา  เพราะก่อนหน้านั้น เรือ U-20 ได้ตรวจพบเรือลาดตระเวนหุ้มเกราะให้ผ่านไปและไม่สามารถที่จะโจมตีได้เนื่องจากสภาพหมอกที่ลงจัด

และอีกสาเหตุที่เรือ U-20 ได้ทำการจมเรือ Lusistania นั้นจากคำบอกเล่าของเพื่อนกัปตันชวิกเกอร์ที่ได้รับการบอกเล่าว่าจากตัวกัปตันเองว่า  หลังจากที่สภาพอากาศเริ่มดีขึ้นกัปตันได้นำเรือมาแล่นบนผิวน้ำ และเห็นเรือขนาดใหญ่แล่นมาทางเรือดำน้ำ และพอเรือลำน้ำอยู่ห่างประมาณ 2 ไมล์ กัปตันได้เรียกนายทหารนำร่องซึ่งเคยเป็นกัปตันเรือสินค้ามาก่อน เพื่อจะถามว่าเรือที่เห็นเป็นเรืออะไร เพราะตัวกัปตันนั้นกลัวว่าเรือลำที่แล่นเข้ามาหาจะเป็นเรือสินค้าที่ติดอาวุธ  แต่นายทหารนำร่องยังมาไม่ถึงหอบังคับการ กัปตันชวิกเกอร์จึงตัดสินใจสั่งยิงโจมตีเพราะกลัวว่าเรือลำนั้นจะโจมตีเรือดำน้ำก่อน

 

ซึ่งเรือ U-20 ในตอนนั้นเหลือตอร์ปิโดอยู่เพียง 2 ลูกเท่านั้น และกัปตันสั่งยิงเมื่อระยะห่างเหลือ 400 หลา ซึ่งถูกเป้าหมายอย่างจังและพอนายทหารนำร่องมาถึงหอบังคับการ พอมองไปที่เรือด้วยกล้องส่องทางไกล จึงแจ้งกัปตันว่าเรือที่โดนยิงคือเรือ Lusistania

ซึ่งในตอนหลังนั้นมีรายงานที่่ค่อนข้างคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ระหว่าคำให้การของกัปตันกับการคาดคะเนจากคนอื่นๆ ว่า กัปตันสั่งยิงไป 2ลูก เพราะเข้าใจว่าเป็นเรือช่วยรบ และมีการสันนิฐานจากคนในเยอรมันว่าสาเหตุที่เรือจมลงอย่างรวดเร็วเพราะ เรือ Lusistania มีการบรรทุกกระสุนปืนพร้อมดินระเบิดและอาวุธประเภทอื่นๆเป็๋นจำนวนมาก แต่พอมีการตรวจสอบในเดือน สิงหาคม 1918 มีการยืนยันว่าเรือ Lusistania นั้นไม่มีการบรรทุกอาวุธและติดอาวุธใดๆทั้งสิ้น

จึงสันนิษานกันว่าสาเหตุที่เรือจมเร็วเพราะเรือวิ่งด้วยความเร็วสูง เมื่อถูกยิงด้วยตอร์ปิโดจึงทำให้ฝากั้นระหว่างห้องถูกแรงของน้ำทะเลกระแทกจนพังทำให้น้ำไหลเข้าเรืออย่างรวดเร็ว

 

ส่วนตัวของกัปตันชวิกเกอร์นั้น ในตอนแรกหลังจากที่เรือ U-20 ได้กลับมาจอดที่ท่า ทางกัปตันได้รับคำชมเชยจากคนรอบด้าน และทั้งกัปตันกับเจ้าหน้าที่บนเรือนั้นคิดไปว่า คงไม่มีการสูญเสียชีวิตมากนัก เพราะคาดกันว่าเรือยังคงลอยน้ำได้และมีเรือมาช่วยเหลือภาพหลัง  แต่พอได้รับทราบข่าวจากทางหนังสือพิมพ์ ทำให้ตัวกัปตันได้ทราบความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่จากการตัดสินใจของตนเอง จนในที่สุดกัปตันได้รับคำตำหนิจากไกเซอร์และถูกสั่งลงโทษเพราะจมเรือโดยสาร

 

แต่ก็มีข้อย้อนแย้งมาว่า ทาง กัปตันชวิกเกอร์นั้นได้รับคำสั่งให้จมเรือทุกลำ ที่แล่นเข้าไปในเขตยึดครองของเรือดำน้ำเยอรมัน ซึ่งคนที่ควรจะโดนตำหนิคือผู้บังคับบัญชาที่ออกคำสั่ง  ไม่ใช่ตัวกัปตันเอง  เพราะถ้าเป็นกัปตันคงอื่นคงจะทำแบบเดียวกัน

แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่เป็นกฏของสงครามที่ไม่ได้เขียนไว้คือกัปตันเรือนั้นมีสิทธิที่จะจมเรือข้าศึกได้  แต่ต้องให้คนบนเรือได้ลงเรือเล็กไปเรียบร้อยไปแล้ว ซึ่งจะเห็นได้ว่า ชวิกเกอร์นั้นไม่มีการเตือนล่วงไปยังเรือ Lusistaniaและไม่มีการตรวจสอบให้ทราบแน่ชัดก่อนว่าเป็นเรืออะไร ซึ่งมาทราบเอาภายหลัง และไม่มีการช่วยเหลือผู้รอดชีวิตอีกด้วย

ส่วนเรือ U-20 หลังจากนั้น  ใน ปี ค.ศ. 1916  ได้ถูกทำลายโดยฝ่ายเยอรมันด้วยกันเอง  เพราะไปเกยตื้นที่น่านน้ำของเดนมาร์กพร้อมด้วยเรือ U-30 ที่เจอปัญหาเครื่องยนต์เสีย 2เครื่อง ทำให้ U-20 เข้าไปทำการช่วยเหลือ จนทั้ง 2 ลำไปเกยตื้นกับสันทราย และไม่สามารถที่จะเคลื่อนตัวออกมาได้เหมือนกับ  U-30   ทางกองทัพเรือได้ส่งกองเรือมาช่วยทำการกู้เรือ หลังจากได้รับสัญยาณ SOS จากเรือ U-20  เพราะกลัวว่าถ้ากองเรือของอังกฤษจับสัญญาณได้ คงต้องส่งกองเรือมาจัดการกับเรือ U-20 แน่นอน เพราะจะได้เป็นผลงานที่ประกาศได้ว่า กองเรืออังกฤษสามารถจมเรือ U-20 ที่จมเรือ Lusistania ได้   แต่การกู้เรือ U-20 นั้นไม่ประสพผลสำเร็จ จนกัปตันชวิกเกอร์ตัดสินใจ ระเบิดเรือทิ้งหลังจากขนเอกสารสำคัญออกมาเป็นที่เรียบร้อย นั่นคือปฏิบัติการครั้งสุดท้ายของเรือ U-20

ส่วนชะตากรรมของ กัปตันชวิกเกอร์นั้น กัปตัน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับการเรือ U-88 และช่วง กันยายน 1917 เรือ U-88 ได้ออกปฏิบัติการและไม่ได้กลับมาที่เยอรมันอีกเลย มีการสันนิษฐานกันว่าเรือลำนี้อาจชนทุ่นระเบิดแถวๆ ช่องแคบสก็อตแลนด์กับไอร์แลนด์

***เรียบเรียงจากหนังสือ มัจจุราชทะเลลึก ของประเทือง  ศรีสุข ครับ****

Facebook Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

six − 5 =